ผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นด้านความยั่งยืน

MTC Value Chain

การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มุ่งให้บริการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดผู้มีส่วนได้เสียโดยพิจารณาจากห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งประกอบด้วย 5 กระบวนการหลัก ได้แก่

1. การบริหารแหล่งเงินทุน มีนโยบายการสรรหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากหลายสถาบันทางการเงินให้เพียงพอต่อการเติบโตของธุรกิจ

2. กระบวนการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ มีการพิจารณาสินเชื่อผ่านวิธีการประเมินสินเชื่อแบบอ้างอิงตามสภาพทรัพย์สินแทนการใช้ข้อมูลทางด้านรายได้หรือเครดิตบูโรของลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้

3. การจัดการบริหารลูกค้า มีนโยบายด้านการพัฒนาประสบการณ์ ด้วยการให้บริการที่เป็นเลิศ การพัฒนา Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงนโยบายการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

4. การติดตามและจัดเก็บหนี้ มีนโยบายด้านการพัฒนาจริยธรรมของอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดอบรมขั้นตอนการติดตามและจัดเก็บหนี้ที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดทำโครงการคลินิกแก้หนี้ และโครงการฟ้าส้มของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้ลูกค้ามีสภาพคล่องทางการเงินและลดปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้น

5. การขยายพอร์ตสินเชื่อ โดยมีกระบวนการรักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มฐานลูกค้าใหม่จากการขยายการเข้าถึงของลูกค้าด้วยการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ทั่วประเทศรวมถึงการยกฐานะสาขาให้สามารถรองรับและบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียส่งผลให้บริษัทฯ ทราบถึงความคาดหวัง ความต้องการ ซึ่งมีส่วนช่วยให้บริษัทฯ สามารถกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งสู่การขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนทราบถึงผลกระทบที่บริษัทมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ มีแนวทางในการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังนี้

1. การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Identification) จะพิจารณาถึงบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่สามารถสร้างผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรในลักษณะการมีส่วนร่วมต่างๆ เช่น การพึ่งพาอาศัย (Dependency) ความรับผิดชอบ (Responsibility) อิทธิพล (Influence) โดยบริษัทฯ แบ่งผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญออกเป็น 7 กลุ่ม

2. การจัดลำดับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Prioritization) บริษัทฯ จัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้แนวทางการพิจารณาความมีอิทธิพลและความสนใจต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ (Influence and Interest) ระบุลงในแผนผังของการจัดลำดับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder matrix) ได้ดังนี้

โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้า กลุ่มผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้ และ กลุ่มพนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

3. การวางแผนและดำเนินการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Planning and Implementation) บริษัทฯ กำหนดแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อตอบสนองความคาดหวังได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังตารางด้างล่างดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการมีส่วนร่วม ความถี่ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการดำเนินงาน / เป้าหมาย

1. ลูกค้า

1.

Contact Center 1455

2.

สำนักงานสาขา

3.

Social Media

4.

Muangthai Capital Application 4.0

5.

แบบประเมินความพึงพอใจลูกค้า

6.

ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน

7.

กิจกรรมทางการตลาด

8.

Website Company

9.

E-mail

ทุกวัน







______________________

ทุกเดือน





______________________

ไม่มีกำหนด

-

ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็ว

-

วงเงินที่ได้รับอนุมัติเหมาะสม

-

มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว

-

ปรับลดอัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

-

การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

-

คำนึงถึง ESG ตลอดกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ

-

ขยายสาขาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการให้บริการ

-

สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าด้วยบริการที่เป็นเลิศ ทั่วถึง และเท่าเทียม

-

เคารพต่อความพึงพอใจ สิทธิ และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

-

ติดตามข้อร้องเรียนอย่างรอบด้าน

2. ผู้ถือหุ้น / นักลงทุน / เจ้าหนี้

1.

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

2.

Opportunity Day

3.

สื่อสารผ่านตลาดหลักทรัพย์

4.

IR Website

5.

IR Contact

6.

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน

ปีละ 1 ครั้ง

ทุกไตรมาส
______________________



ไม่มีกำหนด




-

ผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

-

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

-

เป็นองค์กรที่มีความมั่นคง โปร่งใส และเติบโตอย่างยั่งยืน

-

ทบทวนและปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับสภาวการณ์

-

มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี

-

บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

3. พนักงาน / ผู้บริหาร / คณะกรรมการ

1.

การจัดประชุมผู้บริหารประจำเดือน

2.

ประกาศ/คำสั่ง

3.

MTC University

4.

การจัดประชุมคณะกรรมการ

5.

การจัดอบรมสัมมนา

6.

แบบประเมินความพึงพอใจพนักงาน

7.

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน

ทุกเดือน




______________________

ทุกไตรมาส


______________________

ทุกปี


______________________



ไม่มีกำหนด

-

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

-

ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม

-

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน

-

มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล

-

ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน

-

สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง

-

ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน

-

การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

4. คู่ค้า

1.

Site Visit

2.

แบบประเมินความเสี่ยงคู่ค้า

3.

นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง

4.

Website Company

5.

E-mail

6.

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน



ปีละ 1 ครั้ง

______________________



ไม่มีกำหนด


-

มีความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด

-

เกณฑ์การประเมินและคัดเลือกที่ได้มาตรฐาน

-

กำหนดระยะเวลาชำระเงินแก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม

-

บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ ESG

-

บริหารการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

-

กำหนดระยะเวลาชำระเงินแก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม

5. คู่แข่งทางธุรกิจ

1.

การประชุมสมาคมการค้าผู้ประกอบสินเชื่อทะเบียนรถ

2.

การประชุมชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล

3.

การประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามวาระต่าง ๆ








ไม่มีกำหนด




-

แข่งขันอย่างเป็นธรรม

-

การยกระดับอุตสาหกรรมร่วมกัน

-

การให้ความร่วมมือกับสมาคมสินเชื่อทะเบียนรถ/ส่วนบุคคลในการปฏิบัติตามเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับ

-

ให้ความร่วมมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบสินเชื่อทะเบียนรถ เพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมร่วมกัน

6. ชุมชนและสังคม

1.

การดำเนินงานด้านสังคม








ปีละ 1 ครั้ง




-

แสดงความรับผิดชอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน

-

พิจารณาผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

-

ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

-

สร้าง Engagement ระหว่างบริษัทฯ กับชุมชน ผ่านโครงการ CSR

-

ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

7. หน่วยงานกำกับ (ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค/นโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ)

1.

การประชุม/รับฟังความคิดเห็น

2.

การติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน

3.

Site Visit

4.

E-mail








ไม่มีกำหนด




-

สนับสนุนนโยบายและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม

-

การบริหารจัดการที่โปร่งใส

-

ปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับที่กำหนด

-

ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับอยู่เสมอ

การกำหนดประเด็นความยั่งยืน

ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. การศึกษา ทบทวนและระบุประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง (Identification) ได้แก่ ทบทวนประเด็นด้านความยั่งยืนที่ในปี 2566 เทียบเคียงประเด็นความยั่งยืนระดับสากล พิจารณาประเด็นที่กระทบผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน เเละนำประเด็นมาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

  2. จัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน (Prioritization) วิเคราะห์และพิจารณาข้อมูลจากการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

  3. การทวนสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของประเด็นด้านความยั่งยืน (Validation) สรุปการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนให้กับผู้บริหารระดับสูงพิจารณาความถูกต้องของประเด็นความยั่งยืน เพื่อรับทราบและให้ข้อคิดเห็น นำประเด็นความยั่งยืนไปเปิดเผย

  4. การพัฒนาคุณภาพของการรายงาน (Review) ทบทวนกระบวนการและข้อมูลสำคัญด้านความยั่งยืนหลังจากเผยแพร่รายงานฉบับนี้ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วน เพื่อรับฟังความคิดเห็นพร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงรายงานฉบับต่อไป

การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน

ประเด็นในมิติกำกับดูแลกิจการ

1.

การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ

2.

การพัฒนานวัตกรรมและเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

3.

การบริหารจัดการความเสี่ยง

4.

การรักษาข้อมูลและความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

5.

การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

6.

การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน

7.

การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ

ประเด็นในมิติสังคม

8.

การให้ความรู้ทางการเงิน

9.

สิทธิมนุษยชน

10.

ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร

11.

ความพึการพัฒนาศักยภาพของพนักงานงพอใจลูกค้า

12.

การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า

13.

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

14.

การพัฒนาชุมชนและสังคม

ประเด็นในมิติสิ่งแวดล้อม

15.

ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

16.

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

17.

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานสู่ความยั่งยืน 2567

บริษัทฯ กำหนดประเด็นและเป้าหมายสำคัญเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

ตารางประเด็นความยั่งยืน

ประเด็นความเสี่ยง ผู้มีส่วนได้เสีย ระดับผล
กระทบ
ผลกระทบต่อ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
แนวทางการตอบสนอง
ประเด็นความยั่งยื่น
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง SDGs GRI

1. การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ

ลูกค้า ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการคู่ค้าคู่แข่งทางธุรกิจชุมชนและสังคมหน่วยงานกำกับ

สูง

- การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี ช่วยลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน สร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
- หากขาดการกำกับดูแล หรือการไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบ อาจทำให้เกิดความสูญเสียความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์บริษัท

- ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสเป็นธรรม สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ความเสี่ยงจากกฎระเบียบจากหน่วยงานภายนอก

GRI 2-13

2. การพัฒนานวัตกรรมและเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ลูกค้าพนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการคู่ค้าคู่แข่งทางธุรกิจหน่วยงานกำกับ

ต่ำ

- เพิ่มความสามารถแข่งขันและการปรับตัวตามปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
- ตอบโจทย์ความพึงพอใจลูกค้า
- ลดขั้นตอนการทำงาน
- หากธุรกิจไม่ปรับตัว ทำให้สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด

- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทำงานและการให้บริการ

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
- ความเสี่ยงด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
- ความเสี่ยงจากการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางธุรกิจ

-

3. การบริหารจัดการความเสี่ยง

ลูกค้าผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการคู่ค้าคู่แข่งทางธุรกิจชุมชนและสังคมหน่วยงานกำกับ

สูง

- สามารถบรรลุเป้าหมาย มีแผน การจัดการ และลดความรุนแรงของเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต
- หากไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือ อาจส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและต้นทุนการดำเนินงาน
- สูญเสียความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสีย

- กำหนดประเด็นความเสี่ยงครอบคลุมทุกมิติ
- ติดตามผลการดำเนิน งานทุกไตรมาส รายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
- ด้านการเงิน
- ด้านกลยุทธ์
- ด้านความยั่งยืน
- อุบัติใหม่

GRI 2-12

4. การรักษาข้อมูลและความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ลูกค้า ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้ พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ คู่ค้า หน่วยงานกำกับ

สูง

- ข้อมูลส่วนบุคคลมีการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ฟ้องร้องดำเนินคดีสูญเสียความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสีย

- กำหนดมาตรการป้องกันข้อมูลรั่วไหล
- เพิ่มมาตรการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์
- ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และโจรกรรมข้อมูล

GRI 2-12
GRI 418

5. การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ คู่ค้า

ต่ำ

- ป้องกันการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจขององค์กร
- ส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้า
- เกิดการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นธรรม มีช่องโหว่ในการทุจริตคอร์รัปชัน

- จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าในทุกมิติ
- จัดให้มีการประเมินความพึงพอใจคู่ค้า
- ร่วมกันพัฒนาความยั่งยืน

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และโจรกรรมข้อมูล

GRI 2-6
GRI 306
GRI 406

6. การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน

ลูกค้า พนักงาน ผู้บริหาร คณะกรรมการ ชุมชนและสังคม

กลาง

- เพิ่มกระจายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน
- ลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน
- มีการพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น ต้องแบกรับดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม

- กำหนดเป้าหมายการขยายสาขาอย่างน้อย 600 สาขา/ปี
- พัฒนาแอปพลิเคชันเมืองไทย 4.0 เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก

ความเสี่ยงด้านการเงิน
- ความเสี่ยงจากความคุ้มค่าในการขยายสาขา

GRI 203

7. การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ

ลูกค้า ชุมชนและสังคม

กลาง

- สนับสนุนมาตรการแก้หนี้ยั่งยืน
- ลูกค้าได้รับบริการอย่างเป็นธรรม
- หากไม่มีมาตรการให้ความ
- หากไม่มีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหา อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตของลูกค้า

- การให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหาทางการเงิน
- การคุ้มครองสิทธิลูกค้า

ความเสี่ยงด้านการเงิน
- ความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL)

GRI 2-23

8. การให้ความรู้ทางการเงิน

ลูกค้า ชุมชนและสังคม

ต่ำ

- ช่วยให้ลูกค้ามีวินัยทางการเงิน
- มีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี
- ลดการก่อหนี้เกินตัว
- หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดเหตุอาชญากรรมเพิ่มขึ้น

- สื่อสารให้ความรู้ทางการบริหารจัดการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ของบริษัท

ความเสี่ยงด้านการเงิน
- ความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL)

GRI 203

9. สิทธิมนุษยชน

ลูกค้า ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน/เจ้าหนี้ พนักงาน ผู้บริหาร คณะกรรมการ คู่ค้า

สูง

- ลดประเด็นความขัดแย้งซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
- ลดปัญหาการละเมิดสิทธิ
- เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรม
- เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี
- สูญเสียภาพลักษณ์

- กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
- ติดตามกำกับดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิ
- จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าที่ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน


GRI 407
GRI 408
GRI 409

10. ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

กลาง

- มีสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน
- ความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์ ลดปัญหาการหยุดชะงักใน การปฏิบัติงาน
- อาจเกิดปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจ

- วางแผนงานบุคลากรและการจัดหาอุปกรณ์ เพื่อรองรับการขยายสาขา
- จัดกิจกรรมดูแลความสะอาดภายในสำนักงาน
- มีการประเมินความพึงพอใจของพนักงานและติดตาม เพื่อปรับปรุง

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติงาน
- ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากร
- ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน

GRI 2-6
GRI 306
GRI 406

11. การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ หน่วยงานกำกับ

สูง

- ส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเกิดที่มีประสิทธิภาพ
- ลดปัญหาอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
- ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ อาจทำให้เกิดปัญหาจากการไม่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง

- จัดอบรมส่งเสริมการให้ความรู้แก่พนักงานทุกระดับ
- มีสื่อสารให้ความรู้นอกเหนือจากการปฏิบัติงานผ่านช่องทางภายในองค์กร

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติงาน
- ความเสี่ยงจากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทฯ
- ความเสี่ยงจากการให้ บริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากกฎระเบียบจากหน่วยงานภายนอก

GRI 403
GRI 404
GRI 405

12. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า

ลูกค้า พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

สูง

- สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ
- เป็นข้อได้เปรียบจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม
- ไม่สามารถรักษาฐานลูกค้าได้

- จัดให้มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและติดตามผลการเยียวยาแก้ไข
- จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจและติดตามผล

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติงาน
- ความเสี่ยงจากการให้บริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ

GRI 3-3

13. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ลูกค้า พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

สูง

- ลดปัญหาการขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน
- ส่งผลให้การดำเนินงานหยุดชะงัก
- ขาดแคลนพนักงานประจำสาขา

- ส่งเสริมความปลอดภัย ผ่านการให้ความรู้
- ทำระบบบันทึกอุบัติเหตุ เพื่อรวบรวม ติดตามและ วิเคราะห์ความปลอดภัย

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติงาน
- ความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากร
- ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน

GRI 403

14. การพัฒนาชุมชนและสังคม

ชุมชนและสังคม

กลาง

- สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ในชุมชน
- ส่งเสริมให้คนในชุมชนและสังคมเข้าถึงบริการทางการแพทย์
- ลดภาระผู้ปกครอง ช่วยให้บุตร-หลานได้เข้าถึงระบบการศึกษา
- ไม่เกิดการพัฒนาในชุมชน

- จัดทำโครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้คนในชุมชน

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชัน/กำกับดูแลกิจการที่ดี

GRI 201

15. ด้านการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ

ลูกค้า นักลงทุน/ผู้ถือหุ้น/เจ้าหนี้ พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ

สูง

- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของบริษัท
- เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- ขาดความสะดวกในการเข้ามาใช้บริการของลูกค้า
- ส่งผลต่อรายได้ของลูกค้า

- จัดทำงบประมาณบรรเทาความเสียหาย
- จัดเตรียมและทบทวนแผนบริหารความต่อเนื่องให้สอดรับกับสถานการณ์
- ส่งเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
- ความเสี่ยงจากการไม่บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
- ความเสี่ยงภาษีคาร์บอน

GRI 201
GRI 302
GRI 305

16. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

พนักงาน/ผู้บริหาร/คณะกรรมการ ชุมชนและสังคม

ต่ำ

- ช่วยลดต้นทุนจากการดำเนินงาน
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของบริษัท
- หากไม่มีมาตรการจัดการอาจส่งผลต่อต้นทุนดำเนินงานของบริษัทที่เพิ่มสูงขึ้น

- จัดทำโครงการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินงานของบริษัท

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
- ความเสี่ยงจากภาษีคาร์บอน

GRI 302
GRI 303

17. ความหลาก หลายทางชีวภาพ

ลูกค้า ชุมชนและสังคม

ต่ำ

- สร้างผลกระทบเชิงบวกจากการขยายสาขา
- ลดปัญหาการสูญเสียของระบบนิเวศ
- การไม่กำหนดเกณฑ์ในการขยายสาขา อาจนำมาซึ่งปัญหาการทำลายระบบนิเวศ

- กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ เพื่อขยายสาขา โดยไม่กระทบหรือสร้างความเดือดร้อนให้ระบบนิเวศ

ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชัน/การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ความเสี่ยงจากการไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

GRI 304