สร้างความตระหนักรู้
ส่งเสริมการพัฒนา
ดำเนินกิจการ
อย่างมีธรรมาภิบาล
มีการบริหารจัดการ
ความเสี่ยงที่ครอบคลุม
บริหารจัดการ
ผู้มีส่วนได้เสียตลอด
ห่วงโซ่คุณค่า
ต่อต้านทุจริต
คอร์รัปชันทุกรุปแบบ
พัฒนาการจัดการ
ทรัพยากรบุคคล
ส่งเสริมกิจกรรม
เพื่อสังคม
ที่ไม่แสวงหาผลกำไร
บริหารจัดการ
ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพ
พัฒนาผลการ
ดำเนินงานด้าน ESG
สู่ระบบสากล
1. สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน ให้ทุกภาคส่วนสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการทำงานและการขับเคลื่อนธุรกิจตามกรอบนโยบายโดยคำนึงผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
- กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความยั่งยืน มีหน้าที่กำหนดเป้ากหมาย นโยบาย กรอบการทำงาน และแผนพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน รวมถึงตัวชี้วัดในการดำเนินงานทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว
- แถลงนโยบายและเป้าหมายการทำงานที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ รวมถึงทำความเข้าใจแผนพัฒนาธุรกิจสู่ความยังยืน กับฝ่ายจัดการ ตัวแทนฝ่าย ตัวแทนเขต ผู้จัดการสาขา และพนักงานทุกระดับ
- ผลักดันและส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน กำหนดผู้รับผิดชอบของแต่ละฝ่ายร่วมกันเป็นคณะทำงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนขององค์กร
- จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและให้ความรู้ความเข้าใจด้านงานยั่งยืน รวมถึงเก็บข้อมูลด้านความยั่งยืนจากสาขาอย่างเป็นระบบเพื่อวิเคราะห์ และพัฒนางานความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดให้มีการอบรมให้ความรู้กับพนักงานใหม่ในหัวข้อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
2. ยึดมั่นในการดำเนินกิจการอย่างมีธรรมาภิบาล ตลอดจนการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการ กำหนดเป็นจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของพนักงาน ผู้บริหาร และคณะกรรมการที่ยึดถือกันอย่างเข้มงวด
- จัดให้มีการตรวจสอบการดำเนินกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ว่ามีการดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดและมีประสิทธิภาพอย่างเคร่งครัด
- ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร และไม่ยอมรับหรือเพิกเฉยต่อการกระทำที่ขัดต่อหลักจริยธรรม โดยที่พนักงานเข้าใหม่จะได้รับโอกาสในการชี้แจง ทำความเข้าใจในจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อรับทราบหลักการและแนวปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- พิจารณาทบทวนจรรยาบรรณธุรกิจเป็นประจำทุกปี เพื่อปรับการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอ
3. กำหนดให้มีการจัดการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแล้วและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรให้ครอบคลุมทุกมิติทั้งในเชิงนโยบาย กระบวนการดำเนินงาน และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ทำแผนป้องกัน ควบคุม และเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงนั้น ๆ อย่างทันท่วงที
- กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนและเหมาะสม โดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโดยมี KPI เป็นตัวชี้วัด
- จัดการอบรมการบริหารความเสี่ยงให้แก่บุคลากรทุกระดับ รวมถึงจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความเสี่ยงขององค์กร
- ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกระดับให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมด้านความเสี่ยง และตระหนักถึงความเป็นเจ้าของความเสี่ยงในงานของตนและองค์กร ผ่านการระบุ ประเมิน ติดตามและควบคุมประเด็นความเสี่ยงต่างๆ
4. จัดให้มีระบบและกระบวนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้าใจและตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบในเชิงลบ และสร้างสรรค์ผลกระทบเชิงบวกได้อย่างมีคุณค่าตลอดห่วงโซ่ของกิจการ”
- ส่งเสริมและเพิ่มช่องทางให้เข้าถึงผู้มีส่วนได้เสีย รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
- รวบรวมปัญหาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประเมินและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กร สร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจกับผู้มีส่วนได้เสีย
- เปิดเผยและสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยกำหนดวิธีการ รูปแบบและลำดับขั้นตอนให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
- ติดตามประสิทธิผลของการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมอยู่เสมอ
5.
ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ มีการจัดการปัญหาอย่างมีระบบ กำหนดกลยุทธ์ในการป้องกัน
การปฏิบัติงาน มาตรการเยียวยา และแนวทางการป้องกันการเกิดซ้ำ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ
- กำหนดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสที่เข้าถึงได้ง่าย มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้ง กระบวนการตรวจสอบ
และตอบรับทุกเบาะแสที่ได้รับแจ้งอย่างครบถ้วน โปร่งใสและเป็นธรรม
- แสดงเจตจำนงต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
- กำหนดแผนการอบรมและพัฒนาพนักงานเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรม
- กำหนดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นมีความเพียงพอและมีประสิทธิผลสูงสุด
6. สนับสนุนให้มีการจัดการทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน
เพื่อให้เกิดคุณค่าต่อกิจการ ทั้งในเชิงการรักษา การค้นหา และการพัฒนา รวมถึงการดูแลสวัสดิการ
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน
- วางแผนการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถ ให้เหมาะสมกับความต้องการแรงงานในองค์กร
- วางแผนการจัดอบรมประจำปีที่ครอบคลุม มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
มีการกำหนดและประเมินตามเครื่องมือชี้วัดความสำเร็จของการอบรม
- พัฒนาการบริหารจัดการด้านค่าตอบแทนของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
- จัดให้มีการประเมินผลงานของพนักงานในองค์กรที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง และยุติธรรม
- จัดทำแผนงานและกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ พร้อมทั้งแบบสอบถามประเมินความผูกพันธ์ที่มีต่อองค์กร
- จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานเพื่อดูแลการทำสัญญาจ้างแรงงานและการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- การจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นหรือปัญหาต่างๆ ด้านแรงงานของพนักงาน พร้อมหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
7. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปลูกจิตสำนึก
สร้างความ รับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจที่เกื้อกูลกับสังคมรอบข้าง ก่อให้เกิดสังคมที่เป็นสุข
- สร้างคุณค่าทางธุรกิจควบคู่ไปกับการช่วยเหลือสังคม ผ่านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
- ปลูกจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะ โดยสนับสนุนส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ
เข้ามามีบทบาทและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและช่วยเหลือสังคม
- พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชนและสังคม ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิต สุขภาพ
และความมั่นคง ผ่านการริเริ่มและต่อยอดโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
8. บริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานของกิจการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร ภูมิภาคและระดับโลก สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนและตั้งเป้าการเป็นองค์กร Net Zero รวมถึงผลักดันให้เห็นความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมของ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ขององค์กร
- จัดทำคู่มือด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานอยู่เสมอ
- รายงานปริมาณการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานของสาขาเปรียบเทียบในแต่ละเดือน เพื่อให้เกิดการผลักดัน ติดตาม และแก้ไขการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนด
- ผลักดันการบริหารจัดการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง โดยจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) ขององค์กรและริเริ่มโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
- กำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดในการดำเนินงานด้านบริหารจัดการทรัพยากร
- ส่งเสริมให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
- ส่งเสริมการบริหารจัดการพลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งพิจารณาทางเลือกของการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์
9. พัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG สู่ระดับสากล
เพื่อรองรับการลงทุนและการแข่งขันในระดับโลก
รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากสถาบันต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียน
- นำผลการดำเนินงานด้าน ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานผู้บริหาร
เพื่อผลักดันองค์กรและพนักงานให้ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมด้าน ESG มากยิ่งขึ้น
- ยกระดับการตอบแบบประเมินให้ครอบคลุมทุกมิติมากขึ้น
ปรับปรุงการดำเนินกิจการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางและเป้าหมายตามมาตรฐานสากล
- ยกระดับองค์กรด้วยการเข้าร่วมเป็นสมาชิก DJSI
เพื่อแสดงถึงศักยภาพในการบริหารงานหรือการดำเนินธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ทั่วโลก
- พัฒนาและปรับปรุงข้อมูลด้าน ESG ขององค์กรให้เป็นปัจจุบันและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
เพื่อนำมาเปิดเผยสู่ภายนอกทุกช่องทาง เช่น รายงานประจำปี รายงานความยั่งยืน หรือเว็บไซต์
- จัดทำแผนพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน เพื่อเป็นมาตรฐานให้กับองค์กรในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์
เป้าหมายด้านความยั่งยืน ให้บุคลากรทุกภาคส่วนรับทราบและมีแนวทางในการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน
- ส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนความยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน