การบริหารความเสี่ยงองค์กร

การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กร

บริษัท เมืองไทยแคปปิตอล จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่องค์กรระดับโลก โดยกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับแนวทางและหลักปฏิบัติสากล ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคงในระยะยาว

ความสำคัญการบริหารจัดการความเสี่ยง

  1. สร้างฐานความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงาน
  2. สะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญ
  3. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน ให้วางแผนจัดการได้อย่างเหมาะสม
  4. บริษัทฯ ไม่เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
  5. ให้การพัฒนาองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง

บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงตลอดจนคณะกรรมการต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีการรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงแบบควบคู่ (Dual Reporting) เป็นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังจัดให้มีฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอิสระ และผู้บริหาร จัดตั้งฝ่ายกำกับและดูแลข้อบังคับ กฎระเบียบ และกฎหมาย (Compliance) เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงมีความรัดกุมมากขึ้น ใช้แนวคิดในการบริหารความเสี่ยงที่สามารถกำกับดูแลบริษัทให้สำเร็จลุล่วงตามแผนกลยุทธ์ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ จึงต้องมองในภาพรวมของการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ให้เป็นเรื่องเดียวกัน (Governance, Risk and Compliance, GRC) เพื่อก่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กรด้านความยั่งยืนอย่างมีคุณค่าและส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการปฏิบัติการ

คณะกรรมการบริษัทฯ

กำกับดูแลบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ประสานงานกับกรรมการหรือฝ่ายงานอื่น ๆรวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในระดับปฏิบัติการ (นายอมรเทพ ภูฆัง)

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ประสานงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วไป รวมถึงการประเมินความเสี่ยงแต่ละประเด็นอย่างครอบคลุม

คณะกรรมการตรวจสอบ

ดำเนินการสอบทานผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นอิสระ

หน่วยงานตรวจสอบภายใน

ดำเนินการสอบทานกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม โดยทำการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

คณะทำงานแต่ละชุด พนักงานภายในองค์กร

ระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ กำหนดแผนรับมือและติดตามผล

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

1. การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยง

ขั้นตอนในการทำความเข้าใจกับสาเหตุของการเกิดความเสี่ยง ระบุถึงเหตุการณ์หรือกิจกรรมของกระบวนการปฏิบัติงานที่อาจเกิดความผิดพลาดความเสียหายและการไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายขององค์กร เพื่อให้การระบุความเสี่ยงมีความชัดเจน บริษัทฯ จึงจำแนกประเภทความเสี่ยงไว้ทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่

  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
  • ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติ (Operation Risk)
  • ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Healthy Risk)
  • ความเสี่ยงด้านนโยบาย/กฎหมาย/ข้อบังคับ (Policy and Compliance Risk)
  • ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)
  • ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Risk)
  • ความเสี่ยงด้านชุมชน (Community Risk)
  • ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง (Image and Reputation Risk)
  • ความเสี่ยงอุบัติใหม่ (Emerging Risk)
  • ความเสี่ยงโครงการ (Project Risk)

กระบวนการระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยง

  1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ
  2. การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร
  3. การเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ
  4. การวิเคราะห์ภายในบริษัทฯ
  5. เหตุการณ์ชี้นำหรือตัวชี้วัดความเสี่ยง
  6. รายงานเหตุการณ์สูญ
  7. การวิเคราะห์แผนภาพขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. การประเมินความเสี่ยง

เป็นการประเมินความเสียหายเนื่องจากความเสี่ยง ประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่ “โอกาสที่จะเกิด” และ “ความรุนแรงของผลกระทบ” มีหลักพิจารณาดังนี้

ระดับ "โอกาส" ความถี่

1

น้อยมาก

โอกาสเกิดทุก 6-12 เดือน

2

น้อย

โอกาสเกิดทุก 3-6 เดือน

3

ปานกลาง

โอกาสเกิดทุก 1-3 เดือน

4

มาก

โอกาสเกิดทุก 2 สัปดาห์

5

สูงมาก

โอกาสเกิดทุกสัปดาห์

ระดับ "ผลกระทบ" ความเสียหาย

1

ต่ำมาก

น้อยกว่า 50,000 บาท

2

ต่ำ

มากกว่า 50,000 บาท

3

ปานกลาง

มากกว่า 200,000 บาท

4

สูงมาก

มากกว่า 500,000 บาท

5

สูงมาก

มากกว่า 1,000,000 บาท

จากนั้นนำมาพิจารณาด้วยตารางประเมิน ความเสี่ยง (Risk Matrix) ดังตารางด้านล่างนี้

โดยสามารถแบ่งระดับความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ระดับ เพื่อนำมาพิจารณาจัดการต่อไป

การประเมิน ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสี่ยงกับองค์กร

ผลกระทบ

5

5

10

15

20

25

4

4

8

12

16

20

3

3

6

9

12

15

2

2

4

6

8

10

1

1

2

3

4

5

1

2

3

4

5

โอกาสที่จะเกิด

โดยสามารถแบ่งระดับความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ระดับ เพื่อนำมาพิจารณาจัดการต่อไป

ความเป็นไปได้ ระดับความเสี่ยง แนวปฏิบัติ

0-4

ต่ำ

ควบคุมความเสี่ยง ไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม

5-9

ปานกลาง

ป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเคลื่อนย้ายไปยังระดับสูง

10-15

สูง

จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

16-25

สูงมาก

จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับยอมรับได้อย่างเร่งด่วน

3. การตอบสนองความเสี่ยง

4. กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง

เมื่อมีการเลือกวิธีการตอบสนองความเสี่ยงที่เหมาะสมแล้ว กิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงจะถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ในการปฏิบัติงานทุกด้านนั้นต้องจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่เหมาะสมเพียงพอกับประเภทของการควบคุมสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้

จากภาพแสดงความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและกิจกรรมการควบคุม นอกจากการควบคุมภายในที่เพียงพอแล้ว การกำหนดกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงเพิ่มเติมยังสามารถช่วยลดระดับของความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้อีกด้วย

5. ข้อมูลและการสื่อสาร

ระบบสารสนเทศและการสื่อสารเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารความเสี่ยงในองค์กรมีการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการถ่ายทอดนโยบายการกำกับดูแลและติดตามผลสำเร็จของการดำเนินงาน องค์กรจึงต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การมีระบบสารสนเทศที่ดีนั้น ควรประกอบด้วย

  1. มีการควบคุมสิทธิ์ของผู้ใช้งาน โดยแบ่งออกเป็นลำดับตามความรับผิดชอบและประเภทของงาน
  2. มีระบบสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันปัญหาระบบล่มหรือเกิดเหตุสุดวิสัยที่ส่งผลต่อข้อมูลสำคัญ
  3. มีระบบงานที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. มีหน่วยงานสำรองที่มีอุปกรณ์และระบบที่สามารถให้หน่วยงานสำคัญเข้าปฏิบัติงานได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม เป็นต้น
  5. มีระบบจัดการสินทรัพย์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน

6. การประเมินและติดตามผล

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจัดให้มีการประชุมติดตามผลการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยผู้ร่วมประชุมประกอบไปด้วยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เลขานุการ ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงนโยบายและแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของบริษัทฯ ซึ่งในการติดตามผลในระดับคณะกรรมการบริษัทเป็นการติดตามผลของประเด็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างรุนแรงและเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อผลประกอบการหรือทิศทางในการดำเนินงานของบริษัทฯ

การดำเนินงานด้านความเสี่ยงของบริษัทฯ

เพื่อมุ่งสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมในองค์กร บริษัทฯ จึงแก้ไขคู่มือความเสี่ยงให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ขององค์กร พร้อมทั้งจัดให้มีการอบรมความเสี่ยงระดับผู้บริหารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงสามารถปฏิบัติตามคู่มือความเสี่ยงของบริษัทฯ ได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทฯ ผลักดันให้แต่ละหน่วยงานมีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยตนเอง ตั้งแต่การระบุประเด็นความเสี่ยงไปจนถึงการติดตามและประเมินผล รวมถึงจัดให้มีช่องทางสำหรับแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่สรุปผลและแจ้งให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรับทราบผ่านการประชุมคณะกรรมบริหารความเสี่ยงที่จัดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ในปี 2566 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประชุมติดตามผล และหารือประเด็นเรื่องความเสี่ยง เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยมีวาระสำคัญของการประชุมโดยสรุปดังนี้

  • พิจารณารับทราบความคืบหน้าในการควบคุมและแก้ไขปัญหาความเสี่ยง
  • พิจารณาและอนุมัติคู่มือการบริหารความเสี่ยง (ฉบับปรับปรุง)
  • พิจารณาและอนุมัติกฏบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • พิจารณาและอนุมัติการจัดลำดับความเสี่ยงใหม่

การดำเนินงานด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของบริษัทฯ

บริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) ประกอบด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายความต่อเนื่องทางธุรกิจของบริษัทฯ พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรเพื่อรองรับการดำเนินงาน ติดตามความคืบหน้ารวมทั้งดูแลภาพรวมในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ทั้งนี้องค์กรได้มีการทบทวนแผนการปฏิบัติงาน กระบวนการที่ต้องจัดเตรียม สำหรับการเตรียมแผนรับมือกับความเสี่ยงและเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด การก่อวินาศกรรม ฯลฯ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ตัวอย่างแผนการดำเนินงานและแนวทางการรับมือของ

  1. การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

    จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทฯ ได้มีการกำหนดแผนการป้องกันและมาตรการรับมือกับเหตุการณ์โรคระบาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น

    • ติดตาม ประเมิน และเตรียมความพร้อม ต่อสถานการณ์โรคระบาดต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
    • คัดกรองความเสี่ยงสำหรับพนักงานและมีการจัดเตรียมสถานที่ปฏิบัติงานพิเศษให้แก่พนักงานกลุ่มดังกล่าว
    • เพิ่มช่องทางการให้บริการแก่ลูกค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ลดการเดินทางมาที่สาขา เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
  2. เหตุการณ์ขัดข้องทางระบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือการเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก บริษัทฯ ได้มีแนวทางในการเตรียมความพร้อมและรับมือ ดังนี้

    • จัดทำคู่มือนโยบายและระเบียบปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางและหลักปฏิบัติให้แก่พนักงาน
    • จัดทำการซ้อมแผนการกอบกู้ระบบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฉุกเฉินเป็นจำนวน 2 ครั้ง/ปี เพื่อเตรียมความพร้อมและแนวทางการรับมือให้กับพนักงาน
    • จัดให้มีการทวนสอบระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศโดย ผู้ทวนสอบจากหน่วยงานภายนอกเป็นประจำทุกปี

ผลการดำเนินงานด้านความเสี่ยงของบริษัทฯ

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบ ระดับ
ผลกระทบ
ระดับ
โอกาส
แผนการจัดการความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด (KRI) เป้าหมาย รายงานผล

1. ขาดแคลนบุคคลากร

ขาดบุคลากรที่มีความสามารถ

3

5

พัฒนากระบวนการสรรหาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

อัตราส่วนของพนักงานพ้นสภาพเทียบกับพนักงานเข้าใหม่

อัตราส่วน
ไม่เกินกว่า 1

0.455

2. การทุจริตคอร์รัปชั่น

ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อบริษัทฯ

4

5

จัดอบรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

จำนวนการเกิดเหตุการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่น

0

0

3. การไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติของบริษัทฯ

การปฏิบัติงานไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร

3

5

จัดอบรมพนักงานเข้าใหม่ และมีช่องทางให้คำปรึกษาในเรื่องกฏระเบียบ

ค่าเฉลี่ย KPI สาขาที่ถูกตรวจสอบ

มากกว่า
ร้อยละ 85

85.96

4. การแข่งขันและคู่แข่งรายใหม่

ผลประกอบการณ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

5

4

จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจ

สัดส่วนพอร์ตสินเชื่อในตลาดมากเป็นอันดับ 1

อันดับ 1

อันดับ 1

5. การปรับขึ้นของราคาสินค้าในประเทศ

ต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น

4

1

กำหนดเพดานค่าใช้จ่าย

สัดส่วนราคาเฉลี่ยต่อหน่วยเทียบราคาหลักต่อหน่วย

เพิ่มขึ้นไม่เกิน 10%

ลดลง 2.30%

6. กฎระเบียบปฏิบัติฯ จากหน่วยงานภายนอก

ผิดกฎหมาย และขาดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน

5

1

ประชุมและหารือแนวทางการดำเนินงานให้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด

จำนวนรายการที่ดำเนินไม่สำเร็จ (ครั้ง/ปี)

น้อยกว่า
1 ครั้ง/ปี

0

7. การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ

ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น

5

3

จัดหาแหล่งเงินทุนสำรองอื่นๆ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรับ

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งปี

ไม่เกิน 3.80%

3.6%

8. ภัยธรรมชาติ

การดำเนินงานหยุดชะงัก

3

1

จัดเตรียมงบประมาณสำหรับรับมือกับผลกระทบ

มูลค่าความเสียหายรวม
(ล้านบาท/ปี)

น้อยกว่า
5 ล้านบาท

0 บาท

9. ภัยคุกคามทางไซเบอร์และโจรกรรมข้อมูล

ผิด พ.ร.บ ข้อมูลส่วนบุคคลและบริษัทฯ ขาดความน่าเชื่อถือ

4

1

นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในองค์กร

จำนวนครั้งการ ถูกโจมตี

0 ครั้ง

0 ครั้ง

10. การหาเงินทุนจากสถาบันทางการเงิน

ถูกระงับการใช้วงเงินสินเชื่อและไม่ได้รับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่

5

3

ประเมินและติดตามอัตราส่วนทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน
(D/E Ratio)

น้อยกว่า 4

3.70

11. สภาพคล่องทางการเงิน

ชะลอการปล่อยสินเชื่อและการขยายสาขา

5

1

จัดทำแผนจัดหาเงินทุนให้เหมาะสม

อัตราส่วนของกระแสเงินสดรับและจ่าย

มากกว่า 1

1.45

12. การถูกโจรกรรม

ความเสียหายในทรัพย์สินขององค์กร

3

2

ลดการเก็บเงินสดในสาขา หมั่นตรวจเช็คระบบกล้องวงจรปิดให้พร้อมใช้งาน

จำนวนครั้งที่เกิดเหตุโจรกรรม(ครั้ง/ปี)

น้อยกว่า 12 ครั้ง

9 ครั้ง

13. สูญเสียภาพลักษณ์และชื่อเสียง (จากการแอบอ้างในนามบริษัทฯ)

ผู้รับสารเกิดความเข้าใจผิด จนเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และทรัพย์สิน

1

5

สื่อสารแจ้งเตือนภัยมิจฉาชีพแก่ลูกค้า ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

จำนวนครั้งที่ลูกค้าสอบถามและร้องเรียน (ครั้ง/ปี)

ไม่เกิน 480 ครั้ง

317 ครั้ง

14. ความคุ้มค่าในการขยายสาขา

ความไม่คุ้มค่าในการเปิดสาขากระทบผลการดำเนินงาน

4

5

ทบทวนและปรับแผนธุรกิจให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ยอดลูกหนี้ต่อสาขา (ล้านบาท/ปี)

ไม่ต่ำกว่า 14.5

19.02

15. การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL)

ผลกำไรสุทธิลดลง

4

5

ชะลอการปล่อยสินเชื่อในลูกค้ากลุ่มเสี่ยงสูง และขายหนี้เสียให้บริษัทฯ อื่น

ร้อยละของหนี้ผิดนัดชำระ/ยอดการปล่อยสินเชื่อรวม

ไม่เกิน 3.5%

3.11%

16. การไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
(ความเสี่ยงอุบัติใหม่)

สูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและขาดความน่าเชื่อถือ

2

2

ติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างใกล้ชิด ริเริ่มโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(tonCO2/ยอดสินเชื่อ)

ลดลง
ร้อยละ 10

ลดลงร้อยละ 4.71

17. ภาษีคาร์บอน
(ความเสี่ยงอุบัติใหม่)

ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น

1

1

ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กร

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tonCO2/ปี)

เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10 จากปีที่ผ่านมา

เพิ่มขึ้นร้อยละ 13

บทวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)

1. การขาดแคลนบุคลากร

ปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจไมโครไฟแนนซ์มีการแข่งขันที่สูงขึ้น การสรรหาบุคลากรเพื่อประจำการในสาขาของบริษัทฯ รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีการวางแผนพัฒนาการสรรหาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เพียงพอต่อการเติบโตของบริษัทฯ อีกทั้งยังกำหนดโครงการต่างๆ เช่น การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมไปถึงการอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เพื่อสร้างโอกาสและแรงจูงใจในการทำงาน เตรียมความพร้อมให้พนักงานมีความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพของตนเอง ในปี 2566 บริษัทฯ ดำเนินโครงการข้างต้นพบว่าอัตราส่วนของพนักงานพ้นสภาพเทียบจำนวนพนักงานเข้าใหม่ของปี 2566 อยู่ที่ 0.455 ซึ่งนับเป็นค่าที่ยอมรับได้ตามที่บริษัทฯ กำหนด

2. การทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทฯ ตระหนักถึงความเป็นไปได้ในการทุจริตคอร์รัปชัน จึงได้มีการวางมาตรการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการทุจริตอย่างเข้มงวด โดยมีการทบทวนสาเหตุและอัตราการทุจริตคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง ผ่านการกำหนดระบบการควบคุมตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน หรือการนำระบบปฏิบัติการ SAP มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและลดความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีการจัดอบรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่พนักงาน มีการทบทวน จัดทำนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อเผยแพร่และเน้นย้ำผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ภายในองค์กร เช่น วารสาร หรือการกล่าวโอวาทในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ ตลอดจนเพิ่มช่องทางการร้องเรียนการทุจริต (whistleblower) เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ของบริษัทฯ ได้เข้าถึงและสามารถรายงานเหตุได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากพบว่าพนักงานมีการทุจริตคอร์รัปชันจริง บริษัทฯ จะดำเนินการให้พนักงานดังกล่าวรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งลงโทษตามระเบียบสูงสุดของบริษัทฯ และให้ดำเนินคดีต่อพนักงานที่ทำการทุจริตอย่างถึงที่สุด โดยในปี 2566 ตรวจพบการทุจริตทั้งสิ้น 0 ครั้ง

3. การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติของบริษัทฯ

เพื่อยกระดับการดำเนินงานให้มีคุณภาพและสอดคล้องกันทั้งองค์กร สร้างการบริการที่เป็นเลิศ และรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ บริษัทฯ จึงต้องมีระเบียบ ขั้นตอนต่าง ๆ ให้พนักงานและผู้บริหารปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากขาดตกบกพร่อง อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในปี 2566 บริษัทฯ เพิ่มการอบรมในเรื่องของระเบียบ แนวปฏิบัติ และคำสั่งต่าง ๆ มีการออกเป็นนโยบาย และออกเป็นคู่มือ เพื่อกำชับในกระบวนการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานทุกระดับ และวัดผลการดำเนินงานออกมาเป็น KPI ของสาขา ซึ่งพบว่ามีค่าสูงขึ้นจากปี 2565 และผ่านเกณฑ์ 85% ตามที่บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายไว้

4. การแข่งขันและคู่แข่งรายใหม่

ปัจจุบันมีธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเกิดขึ้นมากมาย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรง ทั้งในด้านเทคโนโลยี การขยายสาขา การขยายผลิตภัณฑ์สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ รวมไปถึงการแข่งขันด้านราคา บริษัทฯ จึงมีการเตรียมตัวรับมือ ทบทวน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และแผนการปฏิบัติงานอยู่เสมอ โดยยังคงเน้นเรื่องการบริการที่เป็นเลิศ ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความขัดแย้งและการให้บริการลูกค้าที่ไม่เท่าเทียม นอกจากนี้ยังคงดำเนินตามแผนการเพิ่มสาขาเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงทางการเงินให้กับลูกค้า เน้นการหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการรักษาฐานลูกค้าเดิม มีการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของบริษัทฯ เพื่อนำมาปรับปรุงและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ยังคงเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ ทั้งนี้บริษัทฯ จะไม่หยุดพัฒนาเพื่อให้มั่นใจว่าจะยังคงครองความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดต่อไป

5. การปรับขึ้นของราคาสินค้าในประเทศ

จากสภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน ส่งผลโดยตรงต่อราคาสินค้าภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานส่วนต่างๆ บริษัทฯ จึงต้องมีการจัดทำงบประมาณประจำปี สำรวจราคาสินค้า วางแผนรับมือปัญหาสินค้าราคาขึ้น เพื่อให้ยังคงคุณภาพ และรักษาค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ให้เกิดงบประมาณที่ตั้งไว้ รวมถึงจัดหาคู่ค้าทางธุรกิจสำรองในกรณีที่ราคาสินค้าต่อหน่วยมีปริมาณสูงเกินกว่าที่คาดไว้ ในปี 2566 บริษัทฯ สามารถควบคุมราคาสินค้าเฉลี่ยซึ่งลดลงไปถึง 2.30% ซึ่งเป็นไปตามแผนที่บริษัทฯ วางแผนไว้ให้ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10%

6. กฎระเบียบรวมถึงกฎหมายและข้อบังคับจากหน่วยงานภายนอก

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักคือการให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับ อาทิเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และสำนักงานคณะกรรมการการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ข้อบังคับเหล่านี้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามไม่ครบถ้วนอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ และมีโทษปรับ รวมถึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ บริษัทฯ จึงมีการทบทวนและติดตามข้อกฎหมายภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับให้สอดคล้องกับการดำเนินงานภายในองค์กร มีการจัดอบรม รวมถึงทำแบบประเมินทดสอบความรู้ความเข้าใจให้ทราบถึงกฎระเบียบและข้อบังคับใช้ภายในองค์กรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านกฎหมาย โดยหน่วยงานดังกล่าวมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะบริหารและคณะกรรมการทุกฝ่ายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยการดำเนินงานในปี 2566 พบว่า บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายแต่ประการใด

7. การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ

บริษัทฯ มีรายได้หลักจากดอกเบี้ยรับซึ่งมาจากการปล่อยสินเชื่อ โดยที่ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทฯ มีอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาด ณ ขณะที่กู้ยืม หากมีความผันผวนมากจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมปรับสูงขึ้น ในปัจจุบัน บริษัทฯ มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ หากในอนาคตมีต้นทุนทางการเงินหรือภาระอื่น ๆ เพิ่มขึ้น บริษัทฯ จึงสามารถปรับเพดานการคิดดอกเบี้ยขึ้นตามต้นทุนได้ อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้เพิ่มสัดส่วนเงินทุนหุ้นกู้ ให้เกิดความหลากหลายของแหล่งเงินทุน และมีแหล่งเงินทุกจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ ทั้งนี้ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ทำการเซ็นสัญญาลงนามรับการสนับสนุนเงินทุนภายใต้ กรอบวงเงิน 5,300 ล้านบาท ร่วมกับสถาบันการเงินระดับโลก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทเพื่อการลงทุนและการพัฒนาแห่งเยอรมนี (DEG) และ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (SMBC) ซึ่งทำให้ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยของบริษัทฯ อยู่ 3.6%

8. ภัยธรรมชาติ

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ นับว่ามีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้นโดยตั้งใจหรือเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดเดาได้ ภัยพิบัติดังกล่าวอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อบริษัทฯ ทำให้เกิดความสูญเสียเป็นวงกว้างทั้งต่อบุคคล ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดย บริษัทฯ จัดให้มีการสื่อสารถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน ด้วยการเผยแพร่ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไชต์ของบริษัทฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ วารสารประจำเดือน เป็นต้น โดยในปี 2566 เพื่อให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องจึงได้มีแผนการรับมือ (BCP) เพื่อเป็นแนวทางให้สาขาปฏิบัติตามหากมีการเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้น อีกทั้งยังได้จัดเตรียมงบประมาณ มาตรการสำหรับเยียวยาและรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท ซึ่งในปีที่ผ่านมาพบว่าไม่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติที่มีนัยสำคัญเกิดขึ้น

9. ภัยคุกคามทางไซเบอร์และโจรกรรมข้อมูล

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นการคุกคามที่สร้างผลกระทบในทุกภาคส่วน ทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการเงิน สถาบันการเงินและผู้ใช้บริการทางด้านการเงินต่างๆ อาจมาในรูปแบบที่แปลกใหม่และตรวจจับได้ยากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการปฏิบัติการหลักของบริษัทฯ ยังเน้นการใช้หลักประกันที่เป็นรูปธรรมและการทำธุรกรรมในรูปแบบของเงินสดเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม ระบบการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า และการจัดการบริหารต่างๆ ของบริษัทฯ อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ส่งผลให้บริษัทฯ มีการรวบรวมข้อมูลมาพัฒนาระบบป้องกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการจัดอบรมบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความสามารถให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ตลอดจนจัดเพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแส ช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงานทุกท่าน ในเรื่องของวิธีการหรือรูปแบบของภัยคุกคามทางไซเบอร์ใหม่ๆ ผ่านทางวารสาร และเว็บไซต์ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงจัดให้มีหน่วยงานภายนอกสอบทานระบบเพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานของบริษัทฯ มีความปลอดภัยเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและให้บริการต่อลูกค้า โดยในปี 2566 บริษัทฯ ไม่พบเหตุการณ์การด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทฯ วางไว้

10. การหาเงินทุนจากสถาบันทางการเงิน

เงินทุนในการดำเนินธุรกิจเป็นส่วนสำคัญของการขยายตัวทางธุรกิจ เนื่องจากสภาวะปัจจุบันที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการปรับเปลี่ยนนโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันทางการเงิน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในระบบการเงิน บริษัทฯ ได้ดำเนินการออกหุ้นกู้เพื่อนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ โดยได้รับการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อโดยสถาบันทางการเงินที่มีการเข้มงวดในกระบวนการพิจารณา เพิ่มความรอบคอบในการจัดการการเงิน เพื่อให้บริษัทฯ มีทุนในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหนี้ โดยปี 2566 บริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) อยู่ที่ 3.70 ซึ่งน้อยกว่า 4 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

11. สภาพคล่องทางการเงิน

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างสูงเพราะแม้ว่าบริษัทฯ จะมีฐานะการเงินที่มั่งคง แต่หากไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ทันเวลา หรือไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนได้อย่างเพียงพอก็อาจไม่สามารถชำระเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันที่มีอยู่ได้ บริษัทฯ มีการทำแผนการควบคุมและบริหารสภาพคล่องเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีกระแสเงินสดเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมทั้งภายใต้ภาวะปกติ และภาวะวิกฤติ โดยใช้การจัดทำรายงานการประมาณการกระแสเงินสดเข้าและออก (Cash flow report) และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Liquidity ratio) พร้อมทั้งจัดทำแผนจัดหาเงินทุนให้เหมาะสม โดยในปี 2566 อัตราส่วนของกระแสเงินสดรับและจ่าย เท่ากับ 1.45 ซึ่งเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้

12. การถูกโจรกรรม

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามพันธกิจที่ตั้งไว้ ด้วยการขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ แต่เนื่องด้วยความสามารถในการควบคุมของบริษัทฯ มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการกระทำของแต่ละบุคคลได้ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการจัดการสื่อสารในด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้บุคคลภายนอกได้รับทราบอยู่เสมอ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับชุมชนใกล้เคียง โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่อ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ นอกจากนี้ยังมีมาตรการการป้องกันจากการโจรกรรมของสำนักงาน ด้วยการกำชับสาขาให้ลดการเก็บเงินสดที่อาจเป็นแรงจูงใจของการโจรกรรม ติดตั้งกล้องวงจรปิดในสาขาที่ทำการเปิดใหม่ทุกสาขาและหมั่นตรวจความเรียบร้อยของกล้องวงจรปิดอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการเกิดเหตุและความเสียหายต่อบริษัทฯ ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ในปี 2566 พบเหตุการณ์โจรกรรมเกิดขึ้น 9 ครั้ง มูลค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 16,400 บาท ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ตามที่บริษัทฯ กำหนด

13. สูญเสียภาพลักษณ์และชื่อเสียง

ในยุคสมัยปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างและปลอมแปลงช่องทางการติดต่อที่สำคัญของบริษัทฯ เป็นจำนวนมาก ในปี 2565 พบเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าที่ชำระหนี้ผ่านช่องทางเหล่านั้นในปริมาณที่สูงขึ้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดเป็นประเด็นความเสี่ยงประจำปี 2566 เพื่อหาแนวทางในการลดปัญหาเหล่านี้ หวังคืนความเชื่อมั่นให้ลูกค้า ตลอดจนความสบายใจในการใช้บริการ บริษัทฯ มีการจัดทำสื่อออนไลน์เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เป็นประจำ 1-2 ครั้ง/เดือน รวมถึงทำสื่อออฟไลน์แจ้งเตือนภัยมิจฉาชีพลูกค้าที่สาขา พบว่าในช่วงปีที่ผ่านมา มียอดร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวทั้งสิ้น 317 ครั้ง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายไว้

14. ความคุ้มค่าในการขยายสาขา

จากพันธกิจของบริษัทฯ ที่จะดำรงความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ ดังนั้นการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงทางการเงินให้กับลูกค้าจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะผลักดันให้บริษัทฯ เติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตามการเปิดสาขาใหม่ย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงในเรื่องของความคุ้มค่าจากการขยายสาขา บริษัทฯ จึงต้องมีการศึกษาและวางแผนการเปิดสาขาใหม่อย่างเคร่งครัด ผ่านการสำรวจพื้นที่ ความหนาแน่นของประชากร กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ผลการดำเนินงานของสาขาบริเวณใกล้เคียง และการวิเคราะห์ทางการเงินอื่นๆ เช่น ระยะเวลาจ่ายคืนเงินลงทุน (Payback Period) และผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) จะต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมถึงทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การหาลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสาขาให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในการคุ้มทุนจากการเปิดสาขาใหม่ ในปี 2566 พบว่า ยอดลูกหนี้ต่อสาขาเท่ากับ 19.02 ล้านบาท/สาขา และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี

15. การเพิ่มขึ้นของหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL)

หนี้ด้อยคุณภาพเป็นความเสี่ยงสำคัญของบริษัทฯ เนื่องจากหากลูกหนี้ไม่สามารชำระหนี้ได้ตามกำหนดย่อมทำให้ บริษัทฯ ขาดรายได้หลักจากดอกเบี้ย รวมถึงอาจสูญเสียเงินต้นบางส่วนหรือทั้งหมด จึงกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร ตลอดจนการขยายการเติบโตของธุรกิจ บริษัทฯ ได้มีการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวผ่านการตรวจสอบลูกค้าอย่างเข้มงวด เพื่อลดโอกาสในการเกิดหนี้เสีย นอกจากนี้ได้จัดให้มีพนักงานอย่างน้อยสาขาละ 1 คน ทำหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารข้อมูลของลูกค้าอีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจในการคัดกรองลูกค้า อีกทั้งมีการดำเนินการขายหนี้ดังกล่าวให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือบริษัทรับซื้อหนี้เสีย เพื่อเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงในการจัดการหนี้ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ ส่งผลให้ในปี 2566 อัตราส่วนของหนี้เสีย (Non-Performing Loan: NPL) 3.11% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ 3.5%

16. การไม่บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (อุบัติใหม่)

เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นวาระระดับนานาชาติที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ รวมถึงนักลงทุน ซึ่งสามารถเลือกลงทุนกับธุรกิจที่ใส่ใจและมีความรับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ องค์กรที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้วางไว้ อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจจากนักลงทุนได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ต้องติดตามการดำเนินงานขององค์กรอย่างใกล้ชิด รวมถึงในปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการต้นแบบการบริหารจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งยกระดับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับมาตราฐานสากลมากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมรับมือและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม

17. ภาษีคาร์บอน (อุบัติใหม่)

ปัจจุบัน กรมสรรพสามิตได้เริ่มศึกษาเรื่องการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) โดยไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีภาษีประเภทนี้ขึ้น ในปี 2565 หลายประเทศในโลกเริ่มจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้อาจส่งผลให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทฯ เพิ่มสูงขึ้น บริษัทฯ จึงจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้กับบุคลากรในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร และเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือนเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้และนำมาปรับปรุงมาตรการให้มีความเหมาะสมต่อไปในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 10% จากปีที่ผ่านมา โดยในปี 2566 ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 13.23%