การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกิจการ บริษัทฯ จึงมีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมอย่างจริงจังและผลักดันให้เป็นส่วนนึงของวัฒนธรรมองค์กร โดยจัดให้มีการกำกับดูแลไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางสากลด้วยหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principle on Business and Human Rights: UNGPs) หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at work) และกฎหมายแรงงานของราชอาณาจักรไทย ดังนี้

นโยบายคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

  1. ปฏิบัติต่อทุกฝ่ายด้วยความเท่าเทียม ไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ และศาสนา
  2. ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  3. ระมัดระวังการดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  4. ไม่ใช้และไม่สนับสนุนคู่ค้าที่ใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกประเภท
  5. จัดให้มีการสื่อสาร เผยแพร่นโยบายแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
  6. สอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
  7. ให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของชุมชน โดยเชื่อมั่นว่าชุมชนถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินชีวิตของชุมชนผ่านโครงการต่างๆอย่างยั่งยืน
  1. มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน
  2. จัดให้มีกระบวนการประเมินและระบุประเด็นความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  3. กำหนดให้มีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นสูงสุด คือ เลิกจ้าง
  4. จัดให้มีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม
  5. ไม่ล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ
  6. ให้ความสำคัญและปฏิบัติตามหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ เพื่อป้องกันการผลกระทบเชิงลบที่จะมีต่อชุมชน, สังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของบริษัท

บริษัทฯ ยึดมั่นและปฏิบัติตามกรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการ UNGP อย่างจริงจังเพื่อแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของการเป็นผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยได้มีการตรวจสอบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ซึ่งเป็นกระบวนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ มีการพิจารณทุกประเด็นครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงและวางแผนรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นแสดงจุดยืนที่เข้มแข็งในการประกาศนโยบายระดับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนต่อบุคลากรภายในและสาธารณะโดยผู้บริหารสูงสุด พร้อมทั้งปลูกฝังและให้ความรู้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการป้องกัน เยียวยา แก้ไขผลกระทบและความเสียหาย หากเกิดเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นในองค์กร โดยมีกลไกการร้องทุกข์ สร้างมาตรการเคารพและป้องกันผลกกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบคอบไว้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมีการติดตามและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อวัดผลการป้องกันและแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการรายงานสากลที่ได้รับการยอมรับทุกปีอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยงและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงกำหนดกระบวนการแก้ไขเยียวยาในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. การประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน (Policy commitment)

บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศ “นโยบายสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงาน” โดยสอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางสากลด้วยหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principle on Business and Human Rights: UNGPs) หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at work) รวมถึงกฎหมายแรงงานของราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีการปรับปรุงเป็นประจำทุกปีและได้รับการตรวจสอบและเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ

2. การวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ (Actual and Potential Risk and impact assessment)

บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ได้ระบุและตรวจสอบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนี้

2.1.1 การระบุปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน (Identify Human Rights Issues)

บริษัทฯ พิจารณาประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่หรืออาจเกิดขึ้นกับบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ โดยประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ถือสิทธิที่เกี่ยวข้อง (พนักงาน ลูกค้า ชุมชน ซัพพลายเออร์ และผู้รับเหมา) ได้แก่ กลุ่มเปราะบาง ซึ่งมีประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การเลือกปฏิบัติและการคุกคาม สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิ่งแวดล้อม ปัญหาและสิทธิชุมชน การค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก สภาพการทำงาน ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการ การเจรจาต่อรอง

2.1.2 การกำหนดขอบเขตในการระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ได้กำหนดขอบเขตในการประเมินประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้

ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

ลูกค้า

- การเลือกปฏิบัติในการปล่อยสินเชื่อและการให้บริการ
- ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า
- การป้องกันการฟอกเงิน
- สุขภาพและความปลอดภัย
- การจัดการเรื่องร้องเรียนอย่างเป็นธรรม
พนักงาน - สุขภาพและความปลอดภัย
- สภาพแวดล้อมในการทำงาน
- สภาพการจ้างงาน
- การเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน
- ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลพนักงาน
- กระบวนการสรรหาพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม
- การจ้างแรงงานผิดกฏหมาย
- การจ่ายค่าตอบแทนหรือการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
- เสรีภาพในการสมาคม และ การเจรจาต่อรองกับนายจ้าง
คู่ค้า - การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- การปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างไม่เป็นธรรม
- สุขภาพและความปลอดภัย

2.2 – 2.4 การประเมินระดับความเสี่ยง มาตรการบรรเทาผลกระทบและการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทฯ และพิจารณากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น พนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าของบริษัทฯ โดยการพิจารณาระดับความเสี่ยงของประเด็นสิทธิมนุษยชน 2 มิติ ได้แก่ ผลกระทบ และโอกาสที่จะเกิด ซึ่งแบ่งความเสี่ยงของประเด็นสิทธิมนุษยชนออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่







เมื่อมีการประเมินระดับความเสี่ยงแล้ว บริษัทฯ ได้จัดลำดับประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญในด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อกิจการและการดำเนินงานของบริษัท โดยจำแนกออกมาได้จำนวน 4 ประเด็น ดังนี้

1) สภาพการจ้างงาน

2) การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

3) การใช้แรงงานผิดกฎหมายในห่วงโซ่อุปทาน

4) การเลือกปฏิบัติต่อพนักงาน




3. กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

ในขั้นตอนของการกำหนดกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) มีจุดประสงค์เพื่อระบุและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญและการบริหารจัดการความเสี่ยงแบบบูรณาการ อีกทั้งยังกำหนดกระบวนการแก้ไขเยียวยาในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในองค์กร โดยสรุปเป็นตาราง ดังนี้

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบ การประเมิน แผนการจัดการความเสี่ยง ตัวชี้วัด
ระดับผลกระทบ ระดับโอกาส

สภาพการจ้างงาน

การบังคับพนักงานให้ทำงานล่วงเวลา 3 3 จัดให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน เหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็น 0 เหตุการณ์
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล - การรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้าและพนักงาน
- การนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
4 3 กำหนดมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้แรงงานผิดกฎหมายในห่วงโซ่อุปทาน - การจ้างแรงงานเด็กและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 3 3 เผยแพร่จรรยาบรรณคู่ค้า และจัดให้มีกระบวนการในการประเมินประเด็นความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า
การเลือกปฏิบัติต่อพนักงาน - การปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรมภายในองค์กร 4 4 กำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดและจัดอบรมเพื่อสร้างความตระหนักให้แก่พนักงาน รวมถึงสร้างวัฒนธรรมเชิงบวกในด้านความเท่าเทียมให้กับองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความเคารพซึ่งกันและกัน

บริษัทฯ หมั่นตรวจสอบและสร้างความตระหนักแก่พนักงานในเรื่องของสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อลดประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งสื่อสารผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปีผ่านรายงานความยั่งยืนและรายงานประจำปี

4. การติดตามและรายงานผลการดำเนินการ

บริษัทฯ ได้กำหนดหลักการพื้นฐานในการแจ้งเบาะแสด้านสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานผ่านช่องทางแจ้งเบาะแสทุจริตของบริษัท โดยสนับสนุนให้มีการรายงานของพนักงานหรือการกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้องที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย นโยบายและขั้นตอนด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้, ผู้แจ้งเบาะแสและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองตามความเหมาะสม ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องจะถูกติดตาม และตรวจสอบได้พร้อมทั้งรายงานความคืบหน้าและผลไปยังผู้แจ้งเบาะแสและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ



    ลงทะเบียนและส่งเรื่อง

  1. กำหนดชั้นความลับ
  2. ประสานงานไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ

    รวบรวมข้อเท็จจริงและสั่งการ

  1. รวบรวมเอกสารหลักฐาน
  2. พิจารณาผลกระทบความรุนแรง

    สอบสวนข้อเท็จจริง

  1. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสอบสวน
    ข้อเท็จจริง
  2. พิจารณาผลการสอบสวน
  3. สั่งการบทลงโทษ (ถ้ามี)

    แจ้งผลสรุปต่อผู้ร้องเรียนและปรับปรุงแก้ไข

  1. รายงานผลดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบ
  2. ติดตามผลการปรับปรุงแก้ไข
  3. รายงานคณะกรรมการบริหาร รับทราบ


5. มาตรการแก้ไขและเยียวยา

แม้ว่าในปี 2566 บริษัทฯ ยังไม่พบประเด็นและข้อร้องเรียนในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงการสร้างมาตรการป้องกันและบรรเทาความเสี่ยง รวมถึงการเยียวยา โดยจัดให้มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแสให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม ทั้งในรูปแบบตัวเงิน เช่น การจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย และไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น และการให้คำปรึกษาแก่ผู้เสียหายผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งนี้หากมีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ จะดำเนินการตามกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นธรรม และมีมาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิดตามระเบียบและข้อบังคับของบริษัทต่อไป