การรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

การรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำเนินงานของบริษัทฯ มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตและการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทฯ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าถึงข้อมูล หรือการนำข้อมูลและระบบไปใช้งานในลักษณะที่ไม่ถูกต้องจากผู้ใช้งานและภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ บริษัทฯ มีแนวทางปฏิบัติในการควบคุมด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดทำเป็นแผนการดำเนินงาน การประกาศใช้นโยบาย และการมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจนมีการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกให้รับทราบถึงการบริหารจัดการความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถปกป้องข้อมูลของบริษัทฯ ตลอดจน สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

บริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีโครงสร้างดังนี้

บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน

  1. คณะกรรมการบริษัทฯมีหน้าที่อนุมัตินโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและให้ความสำคัญในการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานเครือข่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะที่ไม่ถูกต้องจากผู้ใช้งานและภัยคุกคามต่างๆ
  2. คณะทำงานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดยประธานกรรมการบริหารมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ถูกต้องตามกฎหมาย และกฎเกณฑ์ทางการอื่น ๆโดยมีการประเมินความเสี่ยงด้านสารสนเทศภายใต้การกำกับบริหารความเสี่ยง
  3. พนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ คำสั่งและคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ

โดยคณะทำงานดังกล่าวมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานและกฏหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงดำเนินการกำหนดมาตรการแก้ไขป้องกัน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการปฏิบัติงานทั้งนี้บริษัทฯจัดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ

  1. บริษัทฯ จัดให้มีการติดตั้งระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจากการโจมตีจากภายนอกหรือภัยจากไวรัสคอมพิวเตอร์ด้วยการติดตั้งซอฟแวร์รักษาความปลอดภัยเน็ตเวิร์ค
  2. บริษัทฯ กำหนดให้มีการกำหนดและปรับปรุงอำนาจการเข้าถึงข้อมูลเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
  3. บริษัทฯ กำหนดให้มีแผนการสำรองข้อมูลพร้อมทั้งมีการตรวจสอบการสำรองข้อมูลให้ถูกต้องตามนโยบายและมาตการรักษาความปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ
  4. บริษัทฯ จัดให้มีการสื่อสารภายในเพื่อสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องการใช้เทคโนโลยีให้ถูกวิธีและถูกวิธีและถูกต้องให้แก่พนักงานอาทิ ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่เปิดอีเมลที่ไม่ทราบที่มา
  5. บริษัทฯ มีการจัดทำคู่มือการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศรวมถึงกำหนดแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) เพื่อป้องกันและรับมือกับการหยุดชะงัดของการดำเนินธุรกิจอันมีเหตุมาจากภัยคุกคามต่อการทำงานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. บริษัทฯ มีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาเป็นผู้ตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Auditor) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินความเพียงพอของการควบคุมภายในและการจัดการความเสี่ยงด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยจัดให้มีการรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

การดำเนินงานในรอบปี

บริษัทฯ ทำการซ้อมแผนการกอบกู้ระบบงานด้านสารสนเทศ จำนวน 2 ครั้งเพื่อเป็นการทดสอบแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและได้ให้มีสอบทานการควบคุมด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยหน่วยงานภายนอกเรื่อง การเข้าถึงโปรแกรมและข้อมูล (Access to Programs and Data) และการจัดเก็บและการสอบทานร่องรอยการใช้บัญชีสิทธิสูง ระดับฐานข้อมูล (High Privileged ID Activity Monitoring – Database Level) โดยภายหลังจากการทวนสอบได้มีการสรุปผลการสอบทานและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปไช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานของบริษัทฯให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในปี 2566 บริษัทฯ ไม่พบเหตุการณ์การด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทฯ วางไว้