การดำเนินงานตามแนวทาง TCFD

ความตระหนักในผลกระทบของความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีสาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินความสมดุล นำมาซึ่งความเสี่ยงร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหา บริษัทฯ จึงนำแนวทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative: SBTi) มาวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางการเงิน วางเป็นกลยุทธ์เพื่อพร้อมรับมือต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนฟรุตปริ้นท์ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่สอดคล้องกับฉากทัศน์ (Scenario Analysis) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศา อีกทั้งยกระดับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศตามมาตรฐาน TCFD (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures) พร้อมจัดตั้งคณะทำงานเพื่อคอยตรวจสอบและจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบ ให้เป็นไปตามแนวทางและนโยบายของบริษัทฯ

1. โครงสร้างการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมการบริษัทฯ

กำกับดูแล ตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นไปตามนโยบายที่บริษัทฯ กำหนด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน

ติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ เช่น การใช้พลังงานภายในองค์กร เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก แผนลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น และรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

กำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยง นโยบาย กรอบการทำงาน ฯลฯ พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านความเสี่ยงให้แต่ละฝ่าย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

คณะกรรมการบริหาร

กำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดทำแผนงานที่เหมาะสม ให้กับคณะทำงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด

ฝ่ายประสิทธิภาพและความยั่งยืน

รับผิดชอบในการจัดทำรายงานและนำเสนอต่อฝ่ายบริหารเพื่ออัพเดทความคืบหน้าการดำเนินงานในระดับปฏิบัติการ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

คณะทำงาน

รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของบริษัทฯ

2. การบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสทางการเงิน

บริษัทฯ นำการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงรวมขององค์กร โดยพิจารณาความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) ออกแบบขั้นตอนการพิจารณาความเสี่ยงโดยรวมขององค์กรที่เหมาะสม ได้แก่ การระบุ การประเมิน และการจัดการผลกระทบที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า พนักงาน และธุรกิจ ซึ่งถูกพิจารณาพร้อมกับดำเนินการเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ทันเหตุการณ์และแนวโน้มของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยพิจารณาประเภทของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านกฎหมาย ความเสี่ยงด้านการเงิน และกรอบเวลา (ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว) ติดตามผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ โดยใช้ ตัวชี้วัด (KPI) เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ระบุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ของแผนการจัดการความเสี่ยง

ขั้นตอนการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  1. การระบุความเสี่ยง ทุกแผนกมีส่วนร่วมในการระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี โดยมีฝ่ายประสิทธิภาพและความยั่งยืนดูแลกระบวนการ รวบรวมความเสี่ยง และติดตามผล
  2. การประเมินความเสี่ยง ทุกแผนกมีส่วนร่วมในการประเมินความเสี่ยงและโอกาสการเกิด ซึ่งความเสี่ยงและโอกาสที่ได้จากแผนกต่าง ๆ จะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร เพื่อนำไปพัฒนาแผนการจัดการและรับมือต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  3. การจัดการความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) โดยได้กำหนดหน้าที่และขั้นตอนการจัดการดังนี้ 1. ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) ทุกแผนกจะต้องรายงานผลการจัดการความเสี่ยงและโอกาสส่งให้คณะกรรมการบริหาร เพื่อสรุปและรวบรวมประเด็นต่าง ๆ นำเสนอแก่ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบรรษัทและความยั่งยืน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) คณะกรรมการบริหารนำเสนอนโยบายและกรอบการดำเนินงานแก่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อขอข้อเสนอแนะและพิจารณากำหนดแผนการจัดการและรับมือ โดยประเด็นหัวข้อที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องติดตามและปรับปรุงแผนการจัดการและรับมือ ทุก ๆ 2 ปี

ในปี 2567 บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมกับการปรับตัว วางแผนรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม พัฒนาแผนการจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ สรุปเป็นผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสได้ ดังนี้

ประเด็นความเสี่ยง ความเสี่ยง ผลกระทบต่อองค์กร ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว แผนการจัดการความเสี่ยง ตัวชี้วัด (KRI)
ผลกระทบ โอกาส ผลกระทบ โอกาส ผลกระทบ โอกาส

ความเสี่ยงทางกายภาพ
(Physical Risks)

ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติแบบเฉียบพลัน
  1. น้ำท่วม
  1. เกิดความเสียหายต่อบุคคล และทรัพย์สินขององค์กร
  2. การให้บริการลูกค้าผ่านสาขาหยุดชะงัก
  3. ส่งผลกระทบต่อรายได้ของลูกค้า
4 1 4 1 4 1
  1. จัดงบประมาณสำรองใช้บรรเทาความเสียหาย
  2. พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นให้ลูกค้าสามารถรับบริการได้บนมือถือ
  3. กำหนดเงื่อนไขในการเลือกที่ตั้งของสาขาให้มีความปลอดภัย และได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้อย
ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน
  1. ภัยแล้ง
  2. อุณหภูมิที่สูงขึ้น
    4
    2
    2
    1
    5
    5
    3
    2
    5
    5
    3
    3
มูลค่าความเสียหาย ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน
(Transition Risks)
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายข้อบังคับทางด้านสิ่งแวดล้อม
  1. ภาษีคาร์บอน
  1. เพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
  2. ลูกค้าไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามกฎระเบียบใหม่
3 1 3 2 3 5
  1. สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้กับบุคลากรภายในองค์กร ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น วารสาร และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากกฎหมายข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เกิน 1 ล้านบาท
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  1. เทคโนโลยีด้าน
    สิ่งแวดล้อม
  1. เกิดค่าใช้จ่ายในการนำพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในองค์กร
3 1 3 3 4 4
  1. เตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง-ถ่านหิน
ค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานทดแทน ไม่เกิน 1 ล้านบาท
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อลูกค้า
  1. ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลง
  1. การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (NPL)
4 1 4 1 5 2
  1. ปรับเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกค้า
  2. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่มีผัญหาทางการเงิน
NPL ไม่เกิน 5%
ความเสี่ยงจากการไม่บรรลุเป้าหมาย Net Zero Company
  1. Net Zero
  1. ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย
3 1 3 3 4 4
  1. ติดตามแนวโน้มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  2. กำหนดเพดาการเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพยากรบางประเภท
  3. รณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ ภายในองค์กร
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 10%
ประเด็นโอกาส โอกาส อธิบายโอกาส ผลกระทบต่อองค์กร ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว มาตรการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบ (ปัจจุบัน – 5 ปีข้างหน้า)
ผลกระทบ โอกาส ผลกระทบ โอกาส ผลกระทบ โอกาส
โอกาส (Opportunity)
(Transition Risks)
ผลิตภัณฑ์/บริการ ผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอนต่ำ การปล่อยสินเชื่อในผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น Low-carbon Products เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  1. ขยายฐานข้อมูลลูกค้าและเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น Low-carbon Products
  2. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด
4 1 5 1 5 3
  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการใหม่ๆที่สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น กระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
แหล่งพลังงาน พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) การเพิ่มขึ้นของแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ไฟฟ้า น้ำ
  1. ลดต้นทุนการดำเนินงานผ่านกลยุทธ์และการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในองค์กร
  2. เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
3 3 3 3 3 3
  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ๆที่สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น สินเชื่อสำหรับพลังงานสะอาด โซลาร์เซลล์

3. ผลกระทบทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศผ่านการวิเคราะห์ฉากทัศน์

การดำเนินธุรกิจในสภาวะที่สภาพภูมิอากาศมีความไม่แน่นอน อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศผ่านฉากทัศน์ (Climate-related Scenario Analysis) จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผนและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่เหมาะสม ทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ

ผลกระทบทางการเงิน
(ล้านบาท)
ประเด็นความเสี่ยง ความเสี่ยง สถานการณ์จำลอง สมมติฐาน 2030 2040 2050

ความเสี่ยงทางกายภาพ
(Physical Risks)

ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติแบบเฉียบพลัน น้ำท่วม สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์หลังปี 2050 (SSP1-2.6) % การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมสูงสุด 5 วัน = % ผลกระทบหนี้เสียจากภัยพิบัติ 3,587 3,628 3,669
การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่าจากปัจจุบันภายในปี 2050
(SSP5-8.5)
% การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมสูงสุด 5 วัน = % ผลกระทบหนี้เสียจากภัยพิบัติ 3,658 3,726 3,793

ความเสี่ยงด้านกฎหมายและนโยบาย
(Transition Risks)

ความเสี่ยงด้านกฎหมายและนโยบาย ภาษีคาร์บอน Stated Policies Scenario (STEPS) ประเทศไทยดำเนินการเก็บภาษีคาร์บอนในอีก 17 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2583) สำหรับทุกภาคส่วนตามโครงสร้างภาษีคาร์บอนของสิงคโปร์ - 198.7 445.1
Net-Zero Emission Scenario (NZE) ประเทศไทยดำเนินการเก็บภาษีคาร์บอนในอีก 7 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2573) สำหรับทุกภาคส่วนตามโครงสร้างภาษีคาร์บอนของสิงคโปร์ 78.9 238.5 498.5