ผลการดำเนินงานการใช้ทรัพยากรในองค์กร
การใช้ทรัพยากรภายในองค์กร
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2566 ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับวัดค่าประสิทธิภาพการดำเนินการหรือค่าความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Intensity) ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการแปรผันตรงของค่าปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อยอดสินเชื่อคงค้าง (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ล้านบาท) โดยกำหนดให้ค่า Intensity ลดลงมากกว่า 10% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า และสำหรับปีถัดไปกำหนดให้ค่า Intensity นี้เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ขององค์กร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การบริหารจัดการการใช้น้ำมัน
ปัจจุบัน การดำเนินงานภายในบริษัทฯ ยังคงใช้พลังงานจากน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับฐานลูกค้าที่มีการขยายตัวเป็นประจำทุกปี จำนวนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงอย่างนั้น เรายังคงคำนึงถึงผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จึงได้มีการกำหนดมาตรการในการจัดการน้ำมัน
เป้าหมาย
Intensity
ลดลงร้อยละ
10
ร้อยละของการใช้
ลดลงจากปีฐาน
ในปี 2573
42
ผลการดำเนินงาน
3,678,814.66 ลิตร
เทียบยอดสินเชื่อคงค้าง
25.67 ลิตร/MB
การปลดปล่อย GHG
^
^
^
8,973.59 tonCO2e
เพิ่มจากเดิม 25.76%
(ปี 2565)
ความเข้มข้นของการใช้พลังงาน
เท่ากับ 0.86 GJ/MB
ผลักดันนโยบายการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV) ในการปฏิบัติงาน
พนักงานสาขาจะถูกตั้งเพดานเบิกค่าน้ำมันตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงาน
การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ องค์กร จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในเกือบทุกขั้นตอนของกระบวนการปฏิบัติงาน การเพิ่มขึ้นของสาขา ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดมลพิษมากขึ้นอีกด้วย บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพลักดันการนำไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด (Renewable Energy) มาใช้ในการดำเนินงาน และได้กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าให้คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด
เป้าหมาย
Intensity
ลดลงร้อยละ
10
ร้อยละของการใช้
ลดลงจากปีฐาน
ในปี 2573
42
ผลการดำเนินงาน
48,694.599.60 kWh
เทียบยอดสินเชื่อคงค้าง
339.77 kWh/MB
การปลดปล่อย GHG
^
^
^
24,342.43 tonCO2e
เพิ่มจากเดิม 15.78%
(ปี 2565)
ความเข้มข้นของการใช้พลังงาน
เท่ากับ 1.22 GJ/MB
กำหนดช่วงเวลาการใช้เครื่องปรับอากาศ สำหรับสำนักงานใหญ่ มีการตั้งเวลาเปิด-ปิด เป็นรูปแบบ และมีการมอนิเตอร์เพื่อเปิดใช้เครื่องปรับอากาศตามความเหมาะสม
มีการกำหนดเพดานเบิกค่าไฟของสาขาที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและปริมาณการใช้งาน เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการประหยัดพลังงานให้แก่พนักงาน
กำหนดให้มีการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ
การบริหารจัดการการใช้น้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรหนึ่งที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และการดำเนินธุรกิจ ในปัจจุบันเกิดปัญหาเรื่องของอุทกภัยและบางพื้นที่เกิดภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใน สังคม อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติด้านทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำผ่านการรณรงค์อนุรักษ์การใช้น้ำและสื่อสารประชาสัมพันธ์ในบุคลากรทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
เป้าหมาย
Intensity
ลดลงร้อยละ
10
ร้อยละของการใช้
ลดลงจากปีฐาน
ในปี 2573
25
ผลการดำเนินงาน
846.94 เมกะลิตร
เทียบยอดสินเชื่อคงค้าง
5,909 ลิตร/MB
การปลดปล่อย GHG
⌄
⌄
⌄
458.19 tonCO2e
ลดลงจากเดิม 2.85%
(ปี 2565)
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 14%
(เทียบจากกรณีปกติ)
ปลูกฝังและรณรงค์ให้ความรู้แก่พนักงานในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รู้จักใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ใช้สุขภัณฑ์แบบประหยัดน้ำและตรวจสอบอุปกรณ์ในการใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีการชำรุดให้รีบดำเนินการซ่อมแซมโดยเร็ว
กำหนดเพดานเบิกค่าน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของแต่ละสาขา
การบริหารจัดการการใช้กระดาษ
การดำเนินงานขององค์กรยังคงใช้กระดาษเป็นหลัก เพื่อให้สามารถรองรับกับการขยายสาขา การเติบโตของธุรกิจกว่า 20 % แน่นอนว่าปริมาณการใช้กระดาษจะต้องเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามองค์กรมีมาตรการในการลด และควบคุมปริมาณการใช้กระดาษเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอ้อมน้อยที่สุด
เป้าหมาย
Intensity
ลดลงร้อยละ
10
ร้อยละของการใช้
ลดลงจากปีฐาน
ในปี 2573
25
ผลการดำเนินงาน
791,538.37 กิโลกรัม
เทียบยอดสินเชื่อคงค้าง
5.52 กิโลกรัม/MB
การปลดปล่อย GHG
⌄
⌄
⌄
528.51 tonCO2e
เพิ่มจากเดิม 4.27%
(ปี 2565)
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 7.74 %
(เทียบจากกรณีปกติ)
สำหรับสำนักงานใหญ่ มีการรณรงค์ให้พนักงานใช้กระดาษให้ครบทั้ง 2 หน้า โดยมีการจัดจุดเก็บกระดาษหน้าเดียวให้ทุกฝ่ายได้นำไปใช้ (Reuse)
พัฒนาระบบใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) โดยยึดตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปริมาณการใช้ทรัพยากรและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปริมาณการใช้น้ำมัน 3,678,814.66 ลิตร
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 8,973.59 tonCO2e
เปรียบเทียบยอดสินเชื่อ 62.61 kgCO2e/ล้านบาท ( เพิ่มขึ้น 6.78%)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า 48,694,599.60 kWh
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 24,342.43 tonCO2e
เปรียบเทียบยอดสินเชื่อ 169.85 kgCO2e/ล้านบาท ( ลดลง 2.30%)
ปริมาณการใช้น้ำ 846.95 เมกะลิตร
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 458.19 tonCO2e
เปรียบเทียบยอดสินเชื่อ 3.2 kgCO2e/ล้านบาท ( ลดลง 17.95%)
ปริมาณการใช้กระดาษ 791,538.37 กิโลกรัม
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 528.51 tonCO2e
เปรียบเทียบยอดสินเชื่อ 3.69 kgCO2e/ล้านบาท ( ลดลง 11.90%)
ปริมาณการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการดำเนินงานของบริษัทฯ เพิ่มสูงขึ้นสาเหตุมาจากการเติบโตของธุรกิจผ่านการขยายสาขา จำนวนฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อยอดสินเชื่อคงค้างมีแนวโน้มที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าถึงแม้บริษัทฯจะเติบโตขึ้นมากกว่า 20% แต่โดยภาพรวมนั้นการใช้ทรัพยากรไม่ได้สูงตามไปด้วย เนื่องมาจากการกำหนดมาตรการต่าง ๆ และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติในกระบวนการดำเนินงาน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ถึงอย่างนั้นบริษัทฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน มีการติดตามและพัฒนากรอบการรายงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล โดยมีเป้าหมายสูงสุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้คงเหลือน้อยที่สุดต่อไป
การบริหารจัดการของเสีย
น้ำเสีย ที่เกิดจากการดำเนินงาน (สำนักงานใหญ่) ส่วนมากเป็นน้ำที่มาจากห้องน้ำ ชักโครก อ่างล้างมือ โดยมีวิธีการจัดการน้ำเสียโดยกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพผสม (Combined Biological Treatment System) ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบตะกอนเร่งทั่วไป ทำให้แน่ใจได้ว่าคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดตรงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดบางส่วนจะถูกเก็บไว้สำรองสำหรับใช้ในการรดน้ำต้นไม้และสำรองไว้เป็นน้ำดับเพลิง
“ในปี 2566
บริษัท
ตั้งเป้าหมายลดปริมาณของเสียจากกระดาษลัง
ขยะ มีการแยกประเภทตามสีถังเป็น ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย ขยะอิเล็กทรอนิกส์(ตลับหมึก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ชำรุด ซึ่งสามารถนำไปขายและ Recycle ได้ 100%) และขยะที่สามารถนำไป Recycle ได้ โดยเทศบาลจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบนำขยะไปจัดการอย่างถูกวิธี มีการกำหนดมาตรการขยะในทุกชั้นทำงานอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเสริมสร้าง และปลูกฝังจิตสึกนึงความรับผิดชอบต่อการจัดการขยะให้แก่บุคลากร ทั้งนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาระบบการเก็บข้อมูล ติดตาม และกำจัดขยะอย่างถูกวิธี สามาถนำขยะบางประเภทมาเพิ่มมูลค่าได้ (Value Added) โดยมีเป้าหมายที่จะเริ่มทดลองดำเนินงานในสำนักงานใหญ่
การคำนึงถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
สำนักงานใหญ่และสาขา ไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจำนวนผลกระทบต่อสัตว์ที่อยู่ในรายชื่อ IUCN Red List เท่ากับศูนย์ และกระบวนการในการเลือกที่ตั้งสาขามีนโยบายเลือกพื้นที่ที่คำนึงถึงพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรือกระทบต่อสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ในชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามหรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
นอกจากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมานั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เรายังมองถึงการป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนา พื้นที่โดยรอบบริเวณที่ทำการสาขา รวมทั้งสำนักงานใหญ่ ด้วยการผลักดันกิจกรรมที่ส่งเสริม เช่น กิจกรรมปลูกป่าด้วยชนิดพืชที่มีจำนวนน้อยเสริมในพื้นที่นั้น ๆ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่จะคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ เสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงปกป้องระบบนิเวศน์